
เด็กชายน้อยอายุ 10 ขวบ ได้ยินครูสอนวิชาประวัติศาสตร์ จากที่โรงเรียนแล้ว ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก
ขณะที่นั่งกินข้าวกับพ่อและแม่ จึงหันหน้าไปทางพ่อ แล้วส่งเสียงถามว่า
“ พ่อ ! พ่อ ! สงครามเกิดขึ้นได้อย่างไร ”
พ่อนั่งนึกอยู่ชั่วขณะแล้วพูดว่า
“ อืม… จะบอกลูกว่าอย่างไรดีล่ะ……สมมุติว่าประเทศไทยกับประเทศกานามีปัญหากัน…”
ยังไม่ทันจะพูดอะไรต่อ ผู้เป็นแม่ก็สอดเสียงขึ้นว่า
“ ไปสมมุติอะไรอย่างนั้น ไทยกับกานาอยู่ห่างกันคนละทวีป ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย ”
“ ก็ผมเพียงแต่สมมุติเท่านั้น ” พ่อเถียง
“ สมมุติอะไร ให้มันเข้าท่าเข้าทางกว่านี้หน่อยซิ ” แม่ขึ้นเสียง
“ คุณจะมาจริงจังอะไรนักหนา ผมบอกแล้วไง สมมุติแค่นี้เอง ไม่เห็นต้องคิดมากนี่ ” พ่อเถียงอีก
“ ฉันไม่ได้คิดมาก คุณต่างหากที่คิดมาก ” แม่ย้ำ
“ นี่ ! อย่ามาใช้อารมณ์ต่อหน้าลูกนะ ” พ่อเสียงดังขึ้น
“ ใคร ! ใคร ! ไหน ใครใช้อารมณ์กันแน่ ” แม่ไม่ลดละ
คราวนี้ ลูกชายตัวน้อยจึงพูดแทรกขึ้นมาบ้างว่า
“ พ่อครับ ! พ่อครับ ! ผมรู้แล้วครับ ผมรู้แล้ว ว่าสงครามเกิดขึ้นได้อย่างไร ”
พ่อและแม่ต่างเงียบเสียงลงทันที
บทเรียนเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
-
ของจริง (สงคราม) ที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา ให้การเรียนรู้ได้ดีกว่าสงครามในตำรา
-
คนเราจะต้องเอาชนะในทุกเรื่องไปเพื่ออะไรกัน ถ้าแพ้บ้าง มันจะเสียหายอะไรนักหนา
-
ทำไมจะต้องเอาปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหา มาเปลี่ยนเป็นศึกใหญ่ในครอบครัว
Like this:
Like Loading...
Related
ชอบมุมมอง วิธีการสื่อสาร และ
ขั้นตอนการนำเสนอของอาจารย์
ประสาร มฤคพิทักษ์ มากๆเลยค่ะ
LikeLike