31 มกราคม 2560 ศาลจังหวัดภูเก็ตอ่านคำพิพากษายกฟ้องคดีขับไล่ชาวเลราไวย์ กรณีพิพาทเรื่องที่ดิน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของชาวเลราไวย์มาก่อน
นี่คือชัยชนะของข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ ที่อยู่เหนือหลักฐานเอกสารสิทธิการถือครองที่ดินชาวเลราไวย์ประเด็นคือ โจทก์อ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน เลขโฉนดที่ 8324 เนื้อที่ 12 ไร่ ที่หมู่ 2 บ้านราไวย์ อ.เมือง ภูเก็ต
เรื่องเดิมคือ ชาวเลราไวย์ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 19 ไร่ ในบริเวณดังกล่าว มีประชาชน 2,067 หลังคาเรือน ซึ่งอยู่กันอย่างหนาแน่น ต่อมามีการออกโฉนดทับที่ดินผืนนี้
ชาวเลราไวย์ ต่อสู้ว่าได้อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มา 7 ชั่วอายุคนแล้ว มีการตั้งบ้านเรือน มีวิถีชีวิต และวัฒนธรรมชาวเล สืบเนื่องมาโดยชาวเลราไวย์ ไม่เคยสนใจไยดีที่จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่อย่างใด จึงถูกบุคคลภายนอกเข้ามาครอบครองพื้นที่ ทำประโยชน์และออกโฉนด แสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ดินก็ยืนยันว่าการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวถูกต้องตามระเบียบของกรมที่ดินแล้ว
ในพื้นที่เดียวกันนี้ ก่อนหน้านี้จึงปรากฏว่ามี 3 คดี ที่ศาลชี้ว่าเอกสารสิทธิของโจทก์ เป็นเอกสารมหาชน ออกโดยรัฐ เมื่อชาวเลราไวย์ ยังไม่สามารถหาหลักฐานมาโต้แย้งสิทธิ ศาลจึงสั่งให้ชาวเลราไวย์ออกจากพื้นที่พิพาท เป็นอันว่าชาวเลราไวย์ แพ้ไป 3 คดี
แต่ 4 คดีหลังที่เพิ่งตัดสิน เมื่อ 31 มค. 60 ศาลยกฟ้องโจทก์ และศาลยังชี้ว่าเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ เพราะฝ่ายจำเลยที่เป็นชาวเลราไวย์ ได้รับความร่วมมือทางคดีจากหลายองค์กร หลายบุคคล ทั้งสำนักคดีผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิชุมชนไท กรมศิลปากร และสนง. ยุติธรรม จ. ภูเก็ต โดยมีพลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานกรรมการแก้ปัญหาที่ดิน ที่ทำกิน และพื้นที่ทางจิตวิญญาณ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล เป็นกำลังสำคัญในการประสานความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ และมีคุณปรีดา คงแป้น แห่งมูลนิธิชุมชนไท เรี่ยวแรงของภาคประชาสังคม
การพิจารณาคดีในศาล ฝ่ายจำเลยได้ชี้แจงต่อศาลว่าชาวเลราไวย์หรือชาวไทยใหม่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่พิพาทมาตั้งแต่ปี 2493 โดยนำเสนอหลักฐานสำคัญ ดังนี้
-
จากภาพถ่ายทางอากาศ หมายเลข ล. 9 ถึง ล. 11 พบว่า ชาวเลราไวย์ได้ปลูกต้นมะพร้าวซึ่งมีอายุมากกว่า 30 ปี ในขณะที่ฝ่ายโจทก์ ซึ่งแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค. 1 เมื่อปี 2508 และโจทก์ระบุว่าปลูกต้นมะพร้าวประมาณ 10 ปีเศษ
-
หลักฐานสำคัญยิ่งคือ ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งสำนักพระราชวังถ่ายภาพไว้ เป็นภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเลราไวย์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2502 ทั้งสองพระองค์เสด็จทรงยืนอยู่ ณ บริเวณชายหาดราไวย์ ซึ่งตอนนั้นมีต้นมะพร้าวอยู่เต็มพื้นที่ และมีบ้านเรือนชาวเล มากกว่า 30 หลังคาเรือน
-
เจ้าหน้าที่ ดีเอสไอ ที่รวบรวมหลักฐานไว้ได้นำเสนอต่อศาลให้เห็นว่า ตามทะเบียนนักเรียนของโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ มีชาวเลราไวย์ เข้าศึกษาที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ ก่อนปี 2498 จำนวน ประมาณ 30 คน
-
ในปี 2557 เจ้าหน้าที่ ดีเอสไอ ได้ขุดค้นพบ 2 โครงกระดูก ที่ฝังอยู่ข้างบ้านเรือนชาวเล บริเวณนั้นขึ้นมา ดร.วรวีย์ ไวยวุฒิ เป็นผู้ตรวจสอบ วิเคราะห์รูปแบบสารพันธุกรรม ตามกระบวนนิติวิทยาศาสตร์ และเป็นพยานร่วมกับนายแสงชม พจน์สมพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญศาลยุติธรรม ชี้แจงต่อศาลว่า โครงกระดูกมีดีเอ็นเอตรงกับชาวเลบนที่ดินพิพาท ประมาณ 10 คน ซึ่งสอดคล้องกับการให้การของ อาจารย์นฤมล อรุโณทัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำวิจัยเชิงวิถีวัฒนธรรมชาวเล ที่ชี้แจงว่าเป็นวัฒนธรรมชาวเล ที่นิยมฝังกระดูกบรรพบุรุษไว้บริเวณใกล้บ้านนั้นเอง
หลักฐานเชิงประจักษ์ทั้ง 4 ประเด็นที่จำเลยนำสืบจึงตีตกคำให้การของโจทก์ ที่อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว เป็นเหตุให้ศาลภูเก็ตชี้ว่า จำเลยหรือชาวเลราไวย์ เป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์บนที่ดินผืนนี้มาตั้งแต่ก่อนปี 2493 ด้วยการสืบสิทธิจากบิดามารดาและบรรพบุรุษ ศาลจึงชี้ว่าการออกโฉนดที่ดินของโจทก์กระทำโดยมิชอบ พยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมีน้ำหนัก มั่นคงและรับฟังได้ และยังมีผลหักล้างพยานหลักฐานและข้อสันนิษฐานที่โจทก์ได้รับตามกฎหมาย ศาลชี้ว่า “โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิในโฉนดที่ดินที่มีกระบวนการออกโฉนดโดยมิชอบมาเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องร้องขับไล่จำเลย เพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาทในฐานะทรัพย์มรดกได้ พิพากษายกฟ้อง”
นี่คือคำพิพากษาประวัติศาสตร์ที่ไปไกลเกินกว่าหลักฐานเอกสารสิทธิตามตัวกฎหมายที่ออกโฉนดโดยมิชอบมาตั้งแต่ต้น หากแต่ศาลได้พิจารณาคดี โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่จำเลยและพยานฝ่ายจำเลยแสดงต่อศาลอย่างหมดจดงดงาม
ขณะนี้ยังมีคดีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ฟ้องขับไล่ชาวเลราไวย์ค้างศาลอยู่อีกหลายคดีที่จะต้องมีการพิพากษาต่อไป
ต้องถือว่ากระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้เข้าร่วมส่วนพิทักษ์ความยุติธรรมให้แก่คดีด้วยอย่างน่าจะถือเป็นแบบอย่างคดีในคดีอื่นๆต่อไป
น่าคิดด้วยว่า หากภาคราชการทอดธุระ ไม่ร่วมรวบรวมหลักฐาน ไม่ลงสู่พื้นที่ ไม่พบพูดคุยกับชาวบ้าน ไม่แสดงภาพถ่ายทางอากาศ ไม่ตรวจสารพันธุกรรมโครงกระดูก หรือปล่อยให้ชาวเลราไวย์ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา เป็นผู้ต่อสู้ด้วยตนเองแต่เพียงลำพัง ผลก็จะเป็นว่าชาวเลราไวย์ต้องแพ้คดีดังเช่น 3 คดีที่ถูกตัดสินแล้ว
ควรทำอย่างไรต่อไป
-
ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องควรฟ้องเพิกถอนกรรมสิทธิ์ ในที่ดินที่ได้มาจากการออกโฉนดโดยมิชอบผืนนี้ต่อไป คำพิพากษาครั้งนี้เป็นข้อพิจารณาที่มีน้ำหนักอย่างยิ่ง
-
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อเสนอของ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งได้ลงพื้นที่พบปะกับ